ไขข้อข้องใจ!ทำไมชาวเกาหลี“อยากมีลูกชาย”
เปิดอ่านแล้ว 569 ครั้ง
ปัญหาการขาดทายาทสืบทอดวงศ์ตระกูลนับเป็นเรื่องใหญ่ที่ครอบครัว “จอง” ต้องเผชิญ เพราะ “ยอนฮี” ผู้เป็นสะใภ้ไม่สามารถมีลูกให้สามีได้ สุดท้ายความหวังที่จะได้ “ลูกชาย” ตามความเชื่อของคนเกาหลีอาจเต็มไปด้วยอุปสรรค

ประเทศในแถบเอเชียมีวัฒนธรรมนิยมการมีลูกชายเพื่อสืบสกุล เช่นประเทศเกาหลีที่ให้ความสำคัญกับ "ลูกชาย" มากกว่าลูกสาว ซึ่งนอกจากเหตุผลเพื่อการสืบเชื้อสายวงศ์ตระกูลยังเป็นเพราะชาวเกาหลีได้รับอิทธิพลจาก“ลัทธิขงจื๊อ” ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องความกตัญญู และได้กำหนดบทบาทหน้าที่การเลี้ยงดูพ่อแม่ให้เป็นของลูกชาย ส่วนลูกสาวเมื่อแต่งงานไปกับตระกูลอื่นถือเป็นคนของครอบครัวสามี ต้องทำหน้าที่ดูแลพ่อแม่สามีราวกับเป็นครอบครัวเดิมของตน
ชาวเกาหลียังมีความเชื่อว่าลูกชายเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกับบรรพบุรุษได้ดังนั้นในเทศกาล “ชูซ็อก” หรืออีกชื่อหนึ่งคือวัน “ฮันกาวี” วันขอบคุณพระเจ้าและไหว้ขอบคุณบรรพบุรุษของชาวเกาหลี ลูกชายคนโตจะเป็นผู้ทำหน้าที่บูชาหลุมศพบรรพชน ส่วนลูกสะใภ้ทำหน้าที่บูชาผีบ้านผีเรือน
ในหนังสือสังคมและวัฒนธรรมเกาหลี เขียนโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ดำรงค์ ฐานดี อธิบายวัฒนธรรมการมีลูกชายของชาวเกาหลีว่า ในอดีตครอบครัวใดไม่สามารถมีลูกชายได้ถือว่าเป็นเรื่องผิดร้ายแรงเพราะทำให้สายตระกูลขาดไป ดังนั้นในยุคราชวงศ์อีหากภรรยาไม่สามารถให้กำเนิดลูกชาย ผู้เป็นสามีสามารถฟ้องหย่าและแต่งงานใหม่ได้ หากสามีเสียชีวิตภรรยาต้องอยู่ภายใต้การปกครองของน้องชายสามีแทน ซึ่งแสดงถึงสังคมชายเป็นใหญ่ ความเชื่อ และวัฒนธรรมการมีลูกชายของชาวเกาหลีอย่างชัดเจน
ส่วนตระกูลจองจะใช้วิธีใดเพื่อให้กำเนิดลูกชาย ติดตามในซีรีส์ Two Mothers แค้นรักเพลิงริษยา ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.25 น. ช่อง 28
ซีรี่ย์ที่เกี่ยวข้อง : แค้นรักเพลิงริษยา