พลิกประวัติศาสตร์! ย้อนรอยตำนาน 723 ปี ประตูเมืองเชียงใหม่
เปิดอ่านแล้ว 8,516 ครั้ง
ตามรอยละคร “เพลิงพรางเทียน” เยือนกำแพงแห่งประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ สถานที่นำ “กลินท์” สู่มิติเวลาของล้านนาในอดีต
ในละคร “เพลิงพรางเทียน” สิ่งหนึ่งที่ทำให้ “กลินท์” สามารถผ่านเวลาไปยังอาณาจักรล้านนาในอดีตได้ คือการผ่านประตูเมืองเชียงใหม่ทั้งห้าประตู ซึ่งเบื้องหลังกำแพงสูงใหญ่ที่เป็นปราการป้องกันเมืองแห่งนี้ รู้หรือไม่ว่ามีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 723 ปี เลยทีเดียว!
ประวัติศาสตร์กำแพงเมืองเชียงใหม่เริ่มต้นในปี 1839 พญามังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองเชียงใหม่บริเวณที่ราบเชิงดอยสุเทพ พร้อมขุดคูและนำดินไปถมเป็นแนวกำแพงสูง แล้วก่ออิฐขนาบสองข้างกันดินถล่ม มีทั้งประตูเวียงชั้นในและประตูเวียงชั้นนอก เพื่อใช้ลวงข้าศึกหากมีการตีขนาบเข้ามาถึงในเวียง โดยในส่วนของประตูเวียงชั้นนอกทั้งห้าประตูนั้น มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาอย่างน่าสนใจ
ประตูหัวเวียง หรือประตูช้างเผือก
บรรพชนเชื่อว่าเป็นประตูชัย เพราะตั้งอยู่ทิศเหนือของเมืองอันเป็นตำแหน่ง “เดช” ในพิธีราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่จะเสด็จเข้าทางประตูนี้ และห้ามไม่ให้มีการนำศพซึ่งถือเป็นสิ่งอัปมงคลออกทางประตูเด็ดขาด ต่อมาประตูหัวเวียงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ประตูช้างเผือก” เมื่อพญาแสนเมืองมาได้สร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือกสองเชือก เป็นอนุสรณ์แก่มหาดเล็กสองคนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากสงคราม
ประตูเชียงใหม่
เดิมชื่อว่า “ประตูท้ายเวียง” เพราะตั้งอยู่ทางทิศใต้ของคูเมือง อดีตเป็นเส้นทางสำคัญระหว่างเชียงใหม่ไปเวียงกุมกามและลำพูนในสมัยราชวงศ์มังราย ในโคลงนิราศหริภุญชัยกล่าวว่าใหญ่โตและแข็งแรงดังโลหะ
ประตูท่าแพ

ประตูสวนดอก
ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมือง เป็นเส้นทางสู่พระราชอุทยานของพญามังรายมหาราช ซึ่งในสมัยพญากือนาได้สร้างวัดบนพื้นที่อุทยาน เรียกว่า “วัดสวนดอก” ทั้งยังเป็นเส้นทางเก่าไปสู่ดอยสุเทพ จึงเรียกประตูนี้ว่า “ประตูสวนดอก”
ประตูสวนปุง หรือประตูแสนปุง
ละครที่เกี่ยวข้อง : เพลิงพรางเทียน