เรียนรู้อย่างเข้าใจ "ออทิสซึ่ม" แตกต่างแต่ไม่แตกแยก
เปิดอ่านแล้ว 1,356 ครั้ง
“ใบพัด” โดนเพื่อนรุมแกล้งหนักกลางโรงเรียน จนผู้คนแตกตื่นและมองเด็ก “ออทิสซึ่ม” เป็นความแตกต่างที่เข้าใจได้ยาก
ฉากแย่งกระเป๋ากลางโรงเรียนของ “ใบพัด” กับ “ฆ้องวงศ์” ทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจผู้ชมว่า พวกเขาที่มีความแตกต่างจะอยู่ร่วมในสังคมกับเด็กปกติได้จริงๆ หรือ มาทำความเข้าใจ “ออทิสซึ่ม” เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมที่กว้างขึ้น
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า คนที่มีอาการ “ออทิสซึ่ม” นั้นมีอยู่เยอะมากในสังคม บางคนเป็นถึงบุคคลที่มีความเป็นอัจฉริยะเฉพาะทางแต่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนปกติได้
ภาวะออทิสซึ่มมีอาการอยู่ 3 ระดับได้แก่
อาการน้อย มีสติปัญญาที่สูงหรือเทียบเท่ากับเด็กธรรมดา ปกติทุกอย่าง แต่ยังมีความบกพร่องตอนเข้าสังคม
ปานกลาง มีปัญหาด้านการเรียนรู้ การใช้ภาษา และการเข้าสังคม
ระดับรุนแรง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมีอาการก้าวร้าว
โดยอาการ “ออทิสซึ่ม” ของ “ใบพัด” อยู่ในกลุ่มที่มีอาการน้อย มีความรู้สึกนึกคิดและความสามารถเฉพาะด้านอย่างการเล่นเปียโน แต่ยังมีพฤติกรรมที่แตกต่างในตอนเข้าสังคมให้ได้เห็นเมื่ออยู่ในสภาวะกดดัน อย่างตอนที่กระชากกระเป๋าจากมือ “ฆ้องวงศ์” หรือมีเหตุการณ์นอกเหนือจากที่พ่อแม่เคยสอน ก็จะเกิดอาการทำซ้ำเดิม ควบคุมตัวเองไม่ได้
จากการสอบถาม รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น คุณหมอแนะนำว่า “1.คุณพ่อคุณแม่ต้องเลือกโรงเรียนที่มีการเตรียมความพร้อมและสภาพแวดล้อมของเด็กให้ดี สร้างเพื่อนสนิทสักคนที่จะช่วยเหลือน้องในตอนใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียน 2.ช่วยสร้างจุดแข็งของเขาให้เด่นขึ้นมา อย่างเช่นสนับสนุนในความสามารถทางด้านดนตรี จัดแสดงโชว์ศิลปะภาพวาด และหากมีปัญหาเกิดขึ้นต้องเรียกเข้าไปพูดคุยเป็นการส่วนตัวเพื่อไม่ให้เกิดภาวะที่กดดัน”
มาร่วมให้กำลังใจ ใบพัด ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ ใน “วัยแสบสาแหรกขาด โครงการ 2” ทุกวันศุกร์ เวลา 20.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.15 น. ทางช่อง 33
ขอขอบคุณข้อมูลจาก รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น
ละครที่เกี่ยวข้อง : วัยแสบสาแหรกขาด โครงการ 2